สาระสำคัญภายในบทความ
- 1. โรคผมร่วงเป็นหย่อม DUPA (Diffuse Unpatterned Alopecia)
- 2. โรคผมร่วงด้านหน้าและด้านข้างของหนังศีรษะ FFA (Frontal Fibrosing Alopecia)
- 3. โรคผมร่วง Central Centrifugal Cicatricial Alopecia (CCCA)
- 4. โรคผมร่วงเป็นหย่อม AA (Alopecia Areata)
- 5. โรคดึงผมตัวเอง Trichotillomania
- ปรึกษาฟรีได้แล้ววันนี้! สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ The Skin Clinic ทุกสาขา
หลายคน ใฝ่ฝันที่จะมีเส้นผม หนา ดกดำ การปลูกผมเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ช่วยรักษาปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้าน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หลายคนอาจมองข้าม "โรคประจำตัว" ที่จะทำให้มีผลลัพธ์หลังการได้รับบริการ
แต่ไม่ใช่ทุกคน ที่จะสามารถรักษาด้วยการปลูกผมได้เสมอไป ก่อนตัดสินใจปลูกผม หลายคนอาจมองข้าม "โรคประจำตัว"
ที่อาจจะส่งผลต่อสุขภาพและผลลัพธ์หลังการปลูกผม เพราะอาจจะเกิดการกราฟต์หลุด! ผมไม่ขึ้น เกิดการอักเสบ แผลหายช้า
นอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายไปแล้ว แต่ยังได้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ดังนั้นในบทความนี้เราจะพาคุณไป ทำความรู้จักกับ "5 โรคประจำตัวที่ไม่ควรปลูกผม" เพื่อช่วยให้คุณทำความเข้าใจและตัดสินใจได้อย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจทำการเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับคุณ!
หมอท็อป แพทย์อเมริกันบอร์ดด้านการปลูกย้ายเซลล์รากผม The Skin Clinic จะมาเปิดเผย 5 โรคประจำตัวที่ไม่ควรปลูกผม ดังนี้
1. โรคผมร่วงเป็นหย่อม DUPA (Diffuse Unpatterned Alopecia)
โรค DUPA หรือผมร่วงชนิดกระจายทั่วศีรษะ โรคประจำตัวที่เป็นผมร่วงที่พบบ่อยในผู้หญิง โดยเฉพาะในช่วงวัยหมดประจำเดือน ลักษณะของโรคนี้คือผมร่วงทั่วศีรษะ ไม่มีรูปแบบเฉพาะเจาะจง ไม่เหมือนกับผมร่วงแบบกรรมพันธุ์ (Androgenetic Alopecia) ที่มักเริ่มร่วงจากบริเวณขมับและมวก สาเหตุของโรคผมร่วงกระจายทั่วหนังศีรษะ(DUPA) อาจจะมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ฮอร์โมน พันธุกรรม ความเครียด และสภาพแวดล้อม จะทำให้ผมจะยิ่งบางมากขึ้นไปอีก
การปลูกผมจึงไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมในการรักษา เนื่องจากมีโอกาสสูงที่ผมที่ปลูกใหม่จะกลับมาร่วง อีกครั้ง
2. โรคผมร่วงด้านหน้าและด้านข้างของหนังศีรษะ FFA (Frontal Fibrosing Alopecia)
โรคผมร่วงชนิดเส้นผมด้านหน้าบาง (FFA) เป็นโรคผมร่วงชนิดหนึ่งที่พบบ่อยในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน ลักษณะของโรคนี้คือผมร่วงบริเวณหน้าผาก ขมับ และไรผม โดยมักเริ่มจากด้านใดด้านหนึ่งแล้วลามไปยังอีกด้านนึง อาจมีสาเหตุมาจาก ฮอร์โมน พันธุกรรม และระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น โรคนี้ไม่สามารถปลูกผมได้ การปลูกผมอาจจะไปกระตุ้นการอักเสบ ทำให้โรคเกิดการลุกลามของโรค
อีกทั้ง รากผมที่ถูกทำลายจากโรคผมร่วง FFA จะไม่สามารถงอกใหม่ได้ การรักษาด้วยการปลูกผมจึงไม่ใช่วิธีที่จะรักษาผมร่วงผมบางของคนเป็นโรคเหล่านี้ เพราะผมที่ปลูกใหม่จะหลุดร่วงในที่สุด
3. โรคผมร่วง Central Centrifugal Cicatricial Alopecia (CCCA)
โรค Central Centrifugal Cicatricial Alopecia (CCCA) หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรคผมร่วงแบบมีแผลเป็นบนหนังศีรษะ จนขยายเป็นวงกว้างขึ้น เป็นภาวะที่รากผมถูกทำลายถาวร ส่งผลให้ผมร่วงเป็นหย่อมๆ และเกิดแผลเป็นบนหนังศีรษะ หลายคนมองหาทางออกด้วยการปลูกผม แต่ทว่าการปลูกผมอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคนี้ เพราะเนื้อเยื่อบนรอยแผลเป็นทำหน้าที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของเส้นผมใหม่ รากผมไม่สามารถฝังตัวในรอยแผลเป็นได้ ส่งผลให้โอกาสในการงอกของเส้นผมที่ปลูกใหม่มีน้อย และการผ่าตัดปลูกผมอาจกระตุ้นให้แผลเป็นบนหนังศีรษะขยายใหญ่ขึ้น ทำให้ปัญหาผมร่วงรุนแรงยิ่งขึ้นอีกด้วย
4. โรคผมร่วงเป็นหย่อม AA (Alopecia Areata)
โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata, AA) เป็นโรค auto-immune ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำลายรากผม ส่งผลให้ผมร่วงเป็นหย่อมๆ หลายคนมองหาทางออกด้วยการปลูกผม แต่การปลูกผมอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรค AA เสมอไป หากปลูกผมในภาวะที่โรคยังไม่สงบหรือโรคยังอยู่ในระยะที่ร่างกายกำลังทำลายรากผม การปลูกผมในช่วงนี้ เส้นผมที่ปลูกใหม่มีโอกาสสูงที่จะร่วงตายได้
5. โรคดึงผมตัวเอง Trichotillomania
โรคดึงผมตัวเอง เป็นภาวะทางจิตที่ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมดึงผมโดยไม่รู้ตัวอาจเกิดจากสภาวะรู้สึกเครียด วิตกกังวล และส่งผลต่อสุขภาพจิตมากขึ้น จนทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมๆ หลายคนอาจมองหาทางแก้ไขด้วยการปลูกผม แต่การปลูกผมอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคนี้เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการดึงผมที่ปลูกใหม่ ทำให้ผมร่วงซ้ำ และอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายซ้ำเพื่อปลูกผมใหม่เรื่อยๆ หากยังมีพฤติกรรมดึงผมอยู่
รักษาผมร่วง ผมบาง อย่างไรดี?
หากคนไข้ไม่สามารถปลูกผมได้
เมื่อการรักษาผมร่วง รักษาผมบาง ศีรษะล้านด้วยการปลูกผม อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด ในการรักษาสำหรับคนไข้บางคนเสมอไป นอกเหนือจากการปลูกผมนั้น ในปัจจุบันยังมีวิธีการอื่น ๆ ที่สามารถช่วยในการรักษาผมร่วงผมบาง ศีรษะล้านได้ โดยไม่ต้องปลูก โดยเฉพาะการกระตุ้นรากผมด้วยเทคโนโลยีที่มีงานวิจัยรองรับ และได้มาตรฐาน เช่น การกระตุ้นรากผมด้วยคลื่นวิทยุ FRM, การฉีดไขมันกระตุ้นรากผม ALMI (Autologous Lipocyte Micronized Injection) , และ การสร้างผมใหม่ด้วยรากผมของตัวเอง Rigenera เป็นต้น
ดังนั้น ก่อนตัดสินใจ ปลูกผมถาวร สิ่งสำคัญ คือ ต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับโรคประจำตัวให้แพทย์ทราบโดยละเอียด เพื่อที่แพทย์จะได้ประเมินความเสี่ยง วางแผนการรักษา และให้คำแนะนำที่เหมาะสมที่สุด นอกจากโรคประจำตัวแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ควรพิจารณาก่อนปลูกผม เช่น สภาพหนังศีรษะ ความรุนแรงของปัญหาผมร่วง ประเภทของเส้นผม และความคาดหวังของคนไข้
การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผม จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ ปลอดภัย และคุ้มค่ากับการลงทุนในระยะยาว