5 โรคอันตรายที่ไม่ควรปลูกผม! เสี่ยงต่อสุขภาพและผลลัพธ์หลังปลูก

26-04-2024

5 โรคอันตรายที่ไม่ควรปลูกผม! เสี่ยงต่อสุขภาพและผลลัพธ์หลังปลูก

หลายคนใฝ่ฝันที่จะมีเส้นผมหนาดกดำ การปลูกผมเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ช่วยรักษาปัญหาผมร่วง ผมบาง ศีรษะล้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามรถรักษาด้วยการปลูกผมได้เสมอไป ก่อนตัดสินใจปลูกผม หลายคนอาจมองข้าม "โรคประจำตัว" ที่อาจจะส่งผลต่อสุขภาพและผลลัพธ์หลังการปลูกผม เพราะจะอาจจะเกิดการกราฟต์หลุด! ผมไม่ขึ้น เกิดการอักเสบ แผลหายช้า นอกจากจะเสียค่าใช้จ่ายไปแล้วแต่ยังได้ผลลัพธ์ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ดังนั้นในบทความนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกับ "5 โรคอันตรายที่ไม่ควรปลูกผม" เพื่อช่วยให้คุณทำความเข้าใจและตัดสินใจได้อย่างรอบคอบก่อนที่จะตัดสินใจทำการเลือกวิธีการรักษาหรือคลินิกปลูกผมที่เหมาะสมกับคุณ!

หมอท็อป แพทย์อเมริกันบอร์ดด้านการปลูกย้ายเซลล์รากผม The Skin Clinic จะมาเปิดเผย 5 โรคอันตรายที่ไม่ควรปลูกผมดังนี้

โรคผมร่วงเป็นหย่อม DUPA

1. โรคผมร่วงเป็นหย่อม DUPA (Diffuse Unpatterned Alopecia)

โรค DUPA หรือผมร่วงชนิดกระจายทั่วศีรษะ เป็นโรคผมร่วงที่พบบ่อยในผู้หญิง โดยเฉพาะในช่วงวัยหมดประจำเดือน ลักษณะของโรคนี้คือผมร่วงทั่วศีรษะ ไม่มีรูปแบบเฉพาะเจาะจง ไม่เหมือนกับผมร่วงแบบกรรมพันธุ์ (Androgenetic Alopecia) ที่มักเริ่มร่วงจากบริเวณขมับและมวก สาเหตุของโรคผมร่วงกระจายทั่วหนังศีรษะ(DUPA) อาจจะมาจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ฮอร์โมน พันธุกรรม ความเครียด และสภาพแวดล้อม จะทำให้ผมจะยิ่งบางมากขึ้นไปอีก การปลูกผมจึงไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมในการรักษา เนื่องจากมีโอกาสสูงที่ผมที่ปลูกใหม่จะกลับมาร่วงอีกครั้ง

โรคผมร่วงด้านหน้าและด้านข้างของหนังศีรษะ FFA

2. โรคผมร่วงด้านหน้าและด้านข้างของหนังศีรษะ FFA (Frontal Fibrosing Alopecia)

โรคผมร่วงชนิดเส้นผมด้านหน้าบาง (FFA) เป็นโรคผมร่วงชนิดหนึ่งที่พบบ่อยในผู้หญิงวัยหลังหมดประจำเดือน ลักษณะของโรคนี้คือผมร่วงบริเวณหน้าผาก ขมับ และไรผม โดยมักเริ่มจากด้านใดด้านหนึ่งแล้วลามไปยังอีกด้านนึง อาจมีสาเหตุมาจาก ฮอร์โมน พันธุกรรม และระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น โรคนี้ไม่สามารถปลูกผมได้ การปลูกผมอาจจะไปกระตุ้นการอักเสบ ทำให้โรคเกิดการลุกลามของโรค อีกทั้งรากผมที่ถูกทำลายจากโรคผมร่วง FFA จะไม่สามารถงอกใหม่ได้ การรักษาด้วยการปลูกผมจึงไม่ใช่วิธีที่จะรักษาผมร่วงผมบางของคนเป็นโรคเหล่านี้ เพราะผมที่ปลูกใหม่จะหลุดร่วงในที่สุด

โรคผมร่วง Central Centrifugal Cicatricial Alopecia

3. โรคผมร่วง Central Centrifugal Cicatricial Alopecia (CCCA)

โรค Central Centrifugal Cicatricial Alopecia (CCCA) หรือที่รู้จักกันในชื่อ โรคผมร่วงแบบมีแผลเป็นบนหนังศีรษะ จนขยายเป็นวงกว้างขึ้น เป็นภาวะที่รากผมถูกทำลายถาวร ส่งผลให้ผมร่วงเป็นหย่อมๆ และเกิดแผลเป็นบนหนังศีรษะ หลายคนมองหาทางออกด้วยการปลูกผม แต่ทว่าการปลูกผมอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคนี้ เพราะเนื่อเยื่อบนรอยแผลเป็นทำหน้าที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของเส้นผมใหม่ รากผมไม่สามารถฝังตัวในรอยแผลเป็นได้ ส่งผลให้โอกาสในการงอกของเส้นผมที่ปลูกใหม่มีน้อย และการผ่าตัดปลูกผมอาจกระตุ้นให้แผลเป็นบนหนังศีรษะขยายใหญ่ขึ้น ทำให้ปัญหาผมร่วงรุนแรงยิ่งขึ้นอีกด้วย

โรคผมร่วงเป็นหย่อม AA

4. โรคผมร่วงเป็นหย่อม AA (Alopecia Areata)

โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia Areata, AA) เป็นโรค auto-immune ที่ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำลายรากผม ส่งผลให้ผมร่วงเป็นหย่อมๆ หลายคนมองหาทางออกด้วยการปลูกผม แต่การปลูกผมอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรค AA เสมอไป หากปลูกผมในภาวะที่โรคยังไม่สงบหรือโรคยังอยู่ในระยะที่ร่างกายกำลังทำลายรากผม การปลูกผมในช่วงนี้ เส้นผมที่ปลูกใหม่มีโอกาสสูงที่จะร่วงตายได้

โรคดึงผมตัวเอง Trichotillomania

5. โรคดึงผมตัวเอง Trichotillomania

โรคดึงผมตัวเอง เป็นภาวะทางจิตที่ผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมดึงผมโดยไม่รู้ตัวอาจเกิดจากสภาวะรู้สึกเครียด วิตกกังวล และส่งผลต่อสุขภาพจิตมากขึ้น จนทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมๆ หลายคนอาจมองหาทางแก้ไขด้วยการปลูกผม แต่การปลูกผมอาจไม่ใช่คำตอบที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคนี้เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการดึงผมที่ปลูกใหม่ ทำให้ผมร่วงซ้ำ และอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายซ้ำเพื่อปลูกผมใหม่เรื่อยๆ หากยังมีพฤติกรรมดึงผมอยู่

รักษาผมร่วง ผมบางอย่างไรดี? หากคนไข้ไม่สามารถปลูกผมได้

เมื่อการรักษาผมร่วง รักษาผมบาง ศีรษะล้านด้วยการปลูกผมอาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดในการรักษาสำหรับคนไข้บางคนเสมอไป นอกเหนือจากการปลูกผมนั้น ในปัจจุบันยังมีวิธีการอื่น ๆ ที่สามารถช่วยในการรักษาผมร่วงผมบาง ศีรษะล้านได้โดยไม่ต้องปลูก โดยเฉพาะการกระตุ้นรากผมด้วยเทคโนโลยีที่มีงานวิจัยรองรับ และได้มาตรฐาน เช่น การกระตุ้นรากผมด้วยคลื่นวิทยุ FRM, การฉีดไขมันกระตุ้นรากผม ALMI (Autologous Lipocyte Micronized Injection) , และ การสร้างผมใหม่ด้วยรากผมของตัวเอง Rigenera เป็นต้น

รักษาผมร่วง ผมบางอย่างไรดี? หากคนไข้ไม่สามารถปลูกผมได้

ดังนั้น ก่อนตัดสินใจปลูกผมถาวร สิ่งสำคัญคือต้องแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับโรคประจำตัวให้แพทย์ทราบโดยละเอียด เพื่อที่แพทย์จะได้ประเมินความเสี่ยง วางแผนการรักษา และให้คำแนะนำที่เหมาะสมที่สุด

นอกจากโรคประจำตัวแล้ว ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ควรพิจารณาก่อนปลูกผม เช่น สภาพหนังศีรษะ ความรุนแรงของปัญหาผมร่วง ประเภทของเส้นผม และความคาดหวังของคนไข้

การปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกผม จึงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพอใจ ปลอดภัย และคุ้มค่ากับการลงทุนในระยะยาว

สนใจสอบถามเพิ่มเติมเรายินดีให้คำปรึกษา---------
Inbox : TheskinclinicBangkok
Line@ : @teamdoctor
Tel : 089-145-4427

บทความน่าสนใจ

More Information !

คลินิกปลูกผมถาวร ปลูกผม FUE ไร้รอยแผลเป็น | THE SKIN CLINIC

919 ถนน สีลม แขวง สีลม เขต บางรัก กรุงเทพมหานคร10500 ประเทศไทย

© THESKINCLINIC​ ALL RIGHT RESERVED